รู้จักกับ “ติดเชื้อในกระแสเลือด” และปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยง
เราอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยที่ว่า “ติดเชื้อในกระแสเลือด” กันมาบ้าง เพราะทุกคนที่เจ็บป่วยนั้นมีโอกาสที่จะมีอาการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ทั้งสิ้น โดยเราจะมาทำความรู้จักกับอาการนี้ให้เข้าใจกันมากขึ้นดังต่อไปนี้
ติดเชื้อในกระแสเลือดคืออะไร
เกิดจากเชื้อโรคเข้าสู่ภายในร่างกายจากช่องทางใดช่องทางหนึ่ง จากนั้นก็เข้าไปอยู่ในกระแสเลือดจนทำให้เกิดการอักเสบหรือติดเชื้อที่บริเวณส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในภาวะที่ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด
1 การเจ็บป่วย เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะที่อ่อนแอลง จนทำให้ทำงานได้ไม่เต็มที่ หรือป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง จะทำให้เชื้อโรคสามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้ง่าย
2 ผู้ที่มีโรคประจำตัว เนื่องจากร่างกายอยู่ในช่วงที่ภูมิคุ้มกันไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ เช่น โรคเอดส์ โรคตับแข็ง โรคเบาหวาน และโรคไตวายเรื้อรัง เป็นต้น
3 การสอดใส่อุปกรณ์เข้าไปในร่างกาย การสอดท่อเข้าไปในคอ การสวนทวารหรือปัสสาวะ รวมถึงส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ล้วนแต่ทำให้มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อ เนื่องจากขณะที่เจ็บป่วยจะอยู่ในภาวะภูมิคุ้มกันโรคต่ำนั่นเอง
4 วัยเด็กและผู้สูงอายุ มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดสูงกว่าวัยอื่น เพราะมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำกว่า โดยเฉพาะผู้ที่ไม่แข็งแรงหรือมีการเจ็บป่วย จะมีโอกาสติดเชื้อในกระแสเลือดมากขึ้น
5 การใช้เข็มฉีดยา เข็มฉีดยาที่ไม่สะอาดหรือไม่ผ่านการฆ่าเชื้อโรค จะช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดได้เช่นกัน
6 เชื้อก่อโรคที่ดื้อยา ผู้ป่วยที่มีประวัติการเจ็บป่วยเป็นประจำ จนกระทั่งเชื้อโรคพัฒนาถึงขั้นดื้อยา อาจจะทำให้อยู่ในภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้
ดังนั้นเราควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ พักผ่อนอย่างเพียงพอ และตรวจสุขภาพเป็นประจำ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ค่ะ
เรียบเรียงโดย: แชร์กันไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น