“มะเร็งลำไส้ใหญ่” ภัยร้ายใกล้ตัวที่ต้องเช็คตนเองเบื้องต้นโดยด่วน
มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้บ่อย ซึ่งพบมากเป็นอันดับ 3 ของโรคมะเร็งทั้งหมด และยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ในประเทศไทย โดยจะมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณลำไส้ส่วนปลายของระบบทางเดินอาหาร
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่สามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้นั้น มีทั้งปัจจัยภายนอกและภายในดังต่อไปนี้
1 พันธุกรรม เกิดจากการถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมจากบิดาและมารดา
2 ประวัติการเจ็บป่วย ผู้ที่มีญาติพี่น้องหรือบุคคลในครอบครัวเคยมีประวัติพบว่าเป็นเนื้องอกในลำไส้
3 โรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ได้มากขึ้น
4 โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยที่เจ็บป่วยเป็นโรคนี้ประจำ จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงมาก
5 สุราและบุหรี่ การดื่มสุราหรือสูบบุหรี่เป็นประจำ จะเป็นการเพิ่มโอกาสและความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น
อาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
1 มีอาการท้องอืด ท้องผูก หรือท้องเสียสลับกับท้องผูกแบบเป็นๆ หายๆ
2 มีอาการปวดท้องบ่อยๆ รู้สึกจุกเสียดและแน่นท้อง
3 รู้สึกอ่อนเพลีย ซีด ไม่มีเรี่ยวแรง และน้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
4 ถ่ายอุจจาระแล้วมีเลือดปนออกมา หรือมีเลือดออกทางทวารหนัก
5 อุจจาระมีขนาดเล็กลงหรือบางลง
6 รู้สึกปวดเบ่งที่บริเวณทวารหนักเหมือนปวดถ่ายอุจจาระตลอดเวลา
7 ในบางรายอาจจะคลำเจอก้อนในช่องท้อง
การตรวจคัดกรองและดูแลตนเองที่ดีจะช่วยป้องกันการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือมีโอกาสตรวจพบรอยโรคได้ตั้งแต่ก่อนเป็นหรือว่าเป็นโรคมะเร็งระยะเริ่มแรก เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โดยใช้วิธีการตรวจหาเลือดในอุจจาระ การเอกซเรย์ลำไส้ใหญ่ด้วยวิธีใส่แป้งเข้าทางทวารหนัก การตรวจระดับโปรตีนในเลือดที่สร้างโดยเซลล์มะเร็ง ส่วนการรักษาจะใช้วิธีการผ่าตัด การฉายแสง และการทำเคมีบำบัด เป็นต้น
เรียบเรียงโดย: แชร์กันไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น