เท้าบวม สัญญานของโรคร้ายที่ร่างกายกำลังฟ้อง
“เท้าบวม” ไม่ใช่อาการแค่เพียงใส่รองเท้าลำบากหรือรู้สึกว่ามันรัดตึงเท่านั้น แต่มันเป็นสัญญาณจากร่างกายที่กำลังฟ้องว่า สุขภาพของเราอาจจะมีโรคบางอย่างก็ได้
อาการเท้าบวม สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1 กดแล้วไม่บุ๋มค้าง เมื่อใช้นิ้วกดลงบริเวณที่บวมประมาณ 5 – 10 วินาที แล้วยกนิ้วออก พบว่าไม่มีรอยบุ๋มค้าง โดยบางรายมีลักษณะผิวขรุขระเหมือนเปลือกส้ม ซึ่งอาการเหล่านี้อาจจะเกิดจากการอุดตันของทางเดินน้ำเหลือง
2 กดแล้วบุ๋มค้าง อาการนี้มีสาเหตุหลักๆ อยู่ 5 สาเหตุ ดังนี้
2.1 อาการบวมน้ำจากการมีน้ำหนักตัวมากเกินไป
2.2 หลอดเลือดดำที่ขาเกิดการอุดตัน
2.3 อุบัติเหตุหรือการติดเชื้อ
2.4 แพ้ยาหรือสารเคมี
2.5 ผลข้างเคียงจากยารักษาโรค
นอกจากนี้อาการเท้าบวมยังเป็นอาการเริ่มต้นของโรคร้ายต่างๆ ได้แก่ โรคหัวใจ โรคไต โรคเท้าช้าง โรคมะเร็งตับ โรคตับแข็ง โรคดีซ่าน โรคเบาหวาน หรือแม้แต่การขาดอาหารประเภทโปรตีน เป็นต้น
วิธีดูแลตนเองเมื่อมีอาการเท้าบวม
1 ควรควบคุมน้ำหนักตนเองให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและควบคุมปริมาณการรับประทานอาหาร
2 หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด ไม่ว่าจะเป็นรสหวานจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด หรือเผ็ดจัด ล้วนแต่สามารถทำให้เกิดอาการเท้าบวมได้ทั้งสิ้น
3 ก่อนนอนควรหาหมอนข้างมาวางที่ปลายเท้า เพื่อให้อยู่ในท่านอนที่ยกเท้าสูงขึ้น จะช่วยลดอาการเท้าบวมลงได้
4 ควรเปลี่ยนอิริยาบถหรือขยับแข้งขยับขาเปลี่ยนท่ายืนบ้าง โดยไม่ควรยืนในท่าเดิมนิ่งๆ เป็นระยะเวลานาน เพราะจะทำให้เลือดลงปลายเท้าแล้วมีอาการบวม เนื่องจากเลือดไหลเวียนไม่สะดวก
5 หากมีอาการบวมมากผิดปกติหรือมีอาการผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
อาการเท้าบวมจึงไม่ใช่แค่เพียงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่เราควรหมั่นสังเกตตนเองอยู่เสมอ ก่อนที่โรคร้ายจะมาเยือนโดยไม่รู้ตัว
เรียบเรียงโดย: แชร์กันไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น