วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
บอกต่อกันไป 7 สมุนไพรพื้นบ้าน แก้เบาหวาน ความดันโลหิต และตาพร่ามัวได้
บอกต่อกันไป 7 สมุนไพรพื้นบ้าน แก้เบาหวาน ความดันโลหิต และตาพร่ามัวได้
โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการน้ำตาลในเลือดสูง เพราะร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดที่ได้จากอาหารไปใช้ได้ตามปกติ มีสาเหตุเกิดจากการที่ร่างกายเกิดความบกพร่องจากการที่ตับอ่อนเกิดการหลั่งอินซูลินผิดปกติ ซึ่งตัวอินซูลินมีหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปสู่เนื้อเยื่อต่าง ๆ เพื่อสร้างพลังงาน เมื่อร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอก็จะทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นนั่นเอง
โรคแทรกซ้อนผู้ป่วยเบาหวาน
ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานมักจะมีการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา เช่น โรคความดัน โรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย อาการชา ปลายประสาทเสื่อม ตาพร่ามัว เกิดต้อหิน ต้อกระจก ซึ่งโรคที่มักเป็นคู่กันกับโรคเบาหวานคือความดันโลหิต ในปัจจุบันการรักษาเบาหวาน และความดันโลหิต แพทย์จะให้ยามารับประทานเพื่อช่วยประคองและรักษาอาการ
ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิต ล้วนแสวงหาวิธีที่จะรักษาโรคนี้ การใช้สมุนไพรถือเป็นแนวทางการรักษาอีกทานหนึ่งที่ได้รับความนิยม ซึ่งมีสมุนไพรหลายชนิดที่มีรายงานการศึกษาว่ามีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ต้านอนุมูลอิสระ ลดไขมันในเลือด ทำให้การไหลเวียนของหลอดเลือดดีขึ้น ซึ่งสมุนไพรที่นิยมในการนำมารักษาโรคเบาหวาน และความดันโลหิต คืออะไรนั้น วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสมุนไพรแก้เบาหวานและความดันกันเลยค่ะ
สมุนไพรพื้นบ้านแก้เบาหวานลดความดัน
1 มะระขี้นก เป็นไม้เลื้อยและเป็นผักพื้นบ้านของไทย อาจจะนำมาลวกจิ้ม กินเป็นผักจิ้มน้ำพริกก็อร่อยดี มีวิตามิน เอ และ ซี สูง มีสรรพคุณในการลดน้ำตาลในเลือด และชะลอการเกิดต้อกระจกได้
2 ใบย่านาง มีสรรพคุณเป็นยาเย็น เมื่อทานเข้าไปจะทำให้ร่างกายเย็นลง ทำให้ระบบในร่างกายสามารถผลิตอินซูลินมาเผาผลาญน้ำตาลได้เป็นปกติ จึงเป็นสมุนไพรแก้เบาหวานได้นั่นเอง
3 กระเทียม มีคุณสมบัติช่วยลดความดันโลหิตลงได้ ควรรับประทานกระเทียมหัวแก่ หากรับประทานสดจะได้รับคุณประโยชน์มากกว่ากระเทียมที่ปรุงสุกแล้ว
4 ตะไคร้ เป็นสมุนไพรแก้เบาหวานและความดันที่เรารู้จักกันดี เพราะนิยมนำมาประกอบอาหาร ซึ่งตะไคร้จะมีสรรพคุณในการขับปัสสาวะ ขับลม และยังช่วยลดความดันโลหิตได้อีกด้วย
5 ผักตำลึง ในผักตำลึงมีประโยชน์มากมาย เป็นยาพื้นบ้านใช้รักษาเบาหวาน สามารถใช้ได้ทั้ง ราก เถา ใบ ซึ่งมีสูตรหลากหลาย แม้กระทั่งชาวเบงกอลในอินเดียก็ใช้ตำลึงเป็นยาประจำแก้โรคเบาหวาน
6 ผักเชียงดา มีลักษณะเป็นไม้เลื้อย เถาสีเขียว มีรสขมอ่อน ๆ และมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก เป็นผักที่หมอยาพื้นบ้านใช้เป็นผักเพื่อเพิ่มพละกำลัง ทั้งยังสามารถใช้เป็นยาลดน้ำหนักได้ เนื่องจากว่าผักเชียงดาช่วยให้มีการนำน้ำตาลไปเผาผลาญมากกว่าการไปสร้างเป็นไขมันสะสม ซึ่งมีการศึกษาผู้ป่วยจากโรคเบาหวานที่ใช้ผักเชียงดาในการรักษา สามารถลดปริมาณการใช้ยาแผนปัจจุบันได้ และบางรายสามารถใช้ผักเชียงดาอย่างเดียวในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
7 ใบชะพลู เป็นผักพื้นบ้านของไทยและเป็นสมุนไพรแก้เบาหวานและความดัน นิยมนำมารับประทานสด ในตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านสามารถนำใบชะพลูมาต้มเพื่อลดเบาหวานได้ เนื่องจากใบชะพลูมีสรรพคุณในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง มีแคลเซียม วิตามินเอและซี สูงมาก
การเลือกใช้สมุนไพรในการรักษาโรคความดันโลหิตและเบาหวาน ถึงแม้ว่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วย แต่สิ่งที่สำคัญที่ต้องระมัดระวังคือสมุนไพรบางชนิดอาจส่งผลเป็นพิษต่อร่างกายถ้าหากใช้ไม่ถูกต้อง ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะเลือกใช้สมุนไพรแก้เบาหวานและความดันเหล่านี้ รวมทั้งการรักษาโรคความดัน และ โรคเบาหวาน ผู้ป่วยควรหันมาใส่ใจเรื่องอาหารการกินและออกกำลังกายเพิ่มเติมด้วย เพราะเป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องทำควบคู่กับการรับประทานยาค่ะ
แหล่งข้อมูล sukkaphap-d.com
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น